กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
สำนักงาน ปภ.จังหวัดสระบุรี
นายชำนาญ แตงจุด
หัวหน้าสำนักงาน ปภ.จังหวัดสระบุรี

แจ้งเตือนและเตรียมความพร้อม

แจ้งเตือนติดตามสภาวะอากาศ ปี 2566

กลุ่ม
25/3/2566
ศูนย์อำนวยการจังหวัดสระบุรี ขอเน้นย้ำแจ้งให้เฝ้าระวังเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง (พายุฤดูร้อน) ระหว่างวันที่ 26 - 29 มีนาคม 2566
10/3/2566
รายงานสถานการณ์ภัย ประจำวันที่ 10 มี.ค.66
16/1/2566
กรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 6 (16/2566) ลงวันที่ 16 มกราคม 2566 เวลา 05.00 น. แจ้งว่า ในช่วงวันที่ 16 - 19 มกราคม 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 4-6 องศาเซลเซียส ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศ ที่หนาวเย็นระวังอันตรายจากสภาพอากาศแปรปรวน ลมกระโชกแรง และอุณหภูมิลดลง รวมถึงดูแลสุขภาพไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 16 - 19 มกราคม 2566 จังหวัดสระบุรีพิจารณาแล้ว เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์สภาพอากาศแปรปรวนที่มีฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง จึงขอให้ดำเนินการดังนี้ 1. แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ให้ติดตามข้อมูลสภาวะอากาศแปรปรวน และข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด รวมทั้งเตรียมความพร้อมรับมือกับสาธารณภัย สถานการณ์วาตภัย ลมกระโชกแรง ที่จะเกิดขึ้น 2. ประสานและบูรณาการหน่วยงานทหาร เครือข่าย ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเตรียมพร้อมทรัพยากร เครื่องจักรกลสาธารณภัย รวมถึงกำลังเจ้าหน้าที่ ให้มีความพร้อมบรรเทาภัย ปฏิบัติงานอำนวยความสะดวก และให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย ตลอด ๒๔ ชั่วโมง หากเกิดสถานการณ์และส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินในพื้นที่ ให้รายงานจังหวัดสระบุรี ทางโทรศัพท์ 0 3634 0722 - 5 โทรสาร 0 3634 0721 หรือกลุ่มไลน์ “อุทกภัย/ภัยแล้ง” 3. ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังสถานการณ์ลมกระโชกแรง พร้อมทั้งสร้างการรับรู้ให้ประชาชนทราบถึงช่องทางการแจ้งเหตุ และขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ ระเบียบ กฎหมาย ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติตนให้เกิดความปลอดภัยเมื่อเกิดสถานการณ์ 4. ให้อำเภอ แจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ เครื่องจักรกลสาธารณภัย วัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้พร้อมระงับเหตุตลอด 24 ชั่วโมง
จำนวนผู้เข้าชมในหน้านี้ 1101 ครั้ง